Untitled Document
มารู้จักการใช้งานฟีเจอร์ใหม่ๆ บน Adobe Photoshop CS (เวอร์ชัน 8) กันดีกว่า (ตอนที่ 2)

รูปที่ 1 การใส่สีฟิลเตอร์ต่างๆ ลงไปบนรูปภาพ ก็สะดวกมากขึ้นกว่าเดิม
Photo Filter
เป็นเอฟเฟ็กต์ที่ใช้ในการจำลองการใส่เลนส์ฟิลเตอร์ให้กับภาพถ่าย ด้วย Photo Filter พร้อมทั้งเลือกรูปแบบฟิลเตอร์ได้ตามต้องการ ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้
เปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการขึ้นมา แล้วคลิ้กเมนูคำสั่ง File > Adjustments > Photo Filter…
จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ Photo Filter เพื่อให้คลิ้กเลือกรูปแบบฟิลเตอร์ตามต้องการ พร้อมกำหนดค่าการแสดงสีของฟิลเตอร์ได้จากการคลิ้กเลือกสไลด์บาร์
รูปภาพที่เลือกจะมีสีของภาพเปลี่ยนแปลงไปตามฟิลเตอร์ที่เลือก หรือถ้าต้องการเปลี่ยนเป็นสีของตัวฟิลเตอร์เอง ก็ให้คลิ้กได้จากในส่วน Color จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ Color Picker เพื่อคลิ้กเลือกสีที่ต้องการ แล้วจึงคลิ้กปุ่ม OK
หากต้องการจะกลับมายังหน้าต่าง Photo Filter ผู้ใช้งานสามารถปรับระดับของสีฟิลเตอร์ได้ตามต้องการ แล้วคลิ้กปุ่ม OK จะได้รูปภาพที่ใส่ฟิลเตอร์เป็นสีฟิลเตอร์ที่เลือกในทันที
Lens Blur Filter
ฟิลเตอร์ส่วนนี้ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานกล้องดิจิตอลโดยเฉพาะ โดยสามารถใช้ฟิลเตอร์นี้เพื่อสร้างระยะชัดตื้น ชัดลึก (หรือที่เรียกว่า Depth Of Field หรือ DOF) นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังสามารถเลือกลักษณะการเบลอที่เกิดจากรูรับแสงแบบต่างๆ ได้อีกด้วย

รูปที่ 2 การใช้งาน Lens Blur Filter สามารถ
เลือกรูปแบบการเบลอของภาพ
เฉพาะจุดที่ต้องการได้อย่างไม่ยาก
จากภาพประกอบที่ 2 จะเป็นการใช้ Gaussian Blur โดยเลเยอร์จะสร้างเอฟเฟ็กต์แก้ไข DOF ในโปรแกรม Photoshop CS ผู้ใช้งานสามารถใช้ฟิลเตอร์ Lens Blur ได้โดยการคลิ้กเมนูคำสั่ง Filter > Blur > Lens Blur
สนับสนุนการทำงานโหมด 16 บิต
การทำงานในแบบ 16 บิต บน Photoshop นั้นสามารถทำได้ แต่มีข้อจำกัดจากในส่วนของการสร้างเลเยอร์ การปรับแต่งเลเยอร์ selections masks และอื่นๆ ซึ่งเกิดจากการที่ต้องแปลงไฟล์จาก 8 บิต ไปเป็น 16 บิต การอิมพอร์ตสามารถทำได้โดยการเลือกเมนูคำสั่ง Select > Load Selection แต่ในโปรแกรม Photoshop CS จะรองรับรูปภาพประเภท 1บิต Bitmap 8 บิต (Grayscale) 8 บิต (Indexed Color) 24 บิต(RGB) ซึ่งผู้ใช้งานสามารถแก้ไขรูปภาพ 16 บิต ได้อย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น Curves or Levels หรือ คำสั่ง Shadow/Highlight

รูปที่ 3 การสร้างไฟล์ที่สนับสนุนในรูปแบบแบบ 16 บิต

รูปที่ 4 สแกนมาเราตัดให้อัตโนมัติ
Crop and Straighten
ในกรณีที่ผู้ใช้งานได้ทำการสแกนรูปภาพหลายๆ ภาพเอาไว้ในรูปภาพเดียว เมื่อนำไปใช้งานก็ต้องมานั่งตัดต่อทีละภาพ แต่ในเวอร์ชันนี้ ผู้ใช้งานสามารถสั่งให้โปรแกรม Photoshop CS ทำการตรวจสอบ และทำการตัดภาพต่างๆ ออกเป็นส่วนๆ ได้ เมื่อตัดเสร็จแล้วก็แสดงรูปภาพในแต่ละภาพขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติ การใช้งานก็สามารถเข้าไปคลิ้กได้ที่เมนูคำสั่ง File > Automate > Crop and Straighten Photos

รูปที่ 5 การปรับ Histograms ในแบบอัพเดต
Histogram Palette
การใช้งาน Histogram Palette จากเวอร์ชันที่แล้วจะเรียกใช้งานผ่านทาง Image > Histogram command โดยคำสั่ง Levels จะแสดงแชนแนล RGB และแชนแนล histograms ซึ่งผู้ใช้งานสามารถจะเห็นเอฟเฟ็กต์ต่างๆ บน histogram ได้ในทันที หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างเช่น Levels, Curves, Selective Color เป็นต้น
การคลิ้กเลือกให้แสดงหน้าต่างดังกล่าว ให้ไปคลิ้กเมนูคำสั่ง Window > Histogram จากนั้นก็จะแสดง Histogram Palette ที่ให้ผู้ใช้งานได้ปรับค่าในแชนแนลต่างๆ ตามต้องการ

รูปที่ 6 การแปลงไฟล์ JPEG ให้เป็นไฟล์ swf
ก็สามารถทำได้ในทันที
ImageReady CS
Photoshop CS ก็ยังมาพร้อมกับ ImageReady CS อีกเช่นเคย โดยผู้ใช้งานสามารถสลับการใช้งานระหว่างทั้งสองโปรแกรมผ่านทางทูลบาร์ไอคอนได้อย่างง่ายดาย โดยโปรแกรม ImageReady CS จะเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการออกแบบเว็บเพจ ในเวอร์ชันนี้ได้เพิ่มเติมอินเทอร์เฟซ และการเอ็กซ์พอร์ตไฟล์ Macromedia Flash (ไฟล์ SWF) และสนับสนุนไฟล์ DHTML, XHTML ที่จัดว่าเป็นโปรแกรมสุดฮอตสุดฮิตสำหรับผู้ที่ชื่นชอบงานกราฟิก พร้อมกับมีของดีของเด่นมาให้ใช้งานกันมากมาย ใครสนใจส่วนใดตรงไหนก็สามารถเลือกใช้งานได้ทันที...
ทั้งหมดก็คือรูปแบบการใช้งานเบื้องต้นที่มีอยู่ใน Adobe Photoshop CS (เวอร์ชัน 8) ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีฟีเจอร์ใหม่ๆ มาให้ใช้งาน และเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้เป็นอย่างมาก เท่ากับว่าเป็นการพัฒนาตัวโปรแกรมให้น่าใช้งานไปอีกขั้นหนึ่งสำหรับทีมงาน Adobe เป็นการเชิญชวนให้แฟนๆ ทั้งขาจรและขาประจำได้หันมาอัพเกรดได้ไม่น้อยเลยทีเดียว (แต่ควรค่าและคุ้มค่าต่อการอัพเกรดแค่ไหนนั้น อยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละบุคคล) อย่างไรเสียก็ลองหาเวอร์ชันทดลองใช้งานมาทดสอบใช้งานกันดู แล้วจะรู้ว่า Adobe Photoshop CS มีดีอย่างไร
ข้อมูลจาก : http://www.arip.co.th
โดย สุธีร์ นวกุล
|