การใช้คำสั่ง แบบ if...else จัดทำโดย : Mr.POP พิมพ์
 Untitled Document

สวัสดีครับ บทความในตอนนี้จะเป็นตอนต่อจากตอนที่แล้วนะครับ มาย้อนกันสักนิดนึงว่าในตอนที่แล้วเราได้กล่าวถึงคำสั่งแบบ simple if ไป ซึ่งจะเป็นการ ตรวจสอบเงื่อนไขว่าถ้าเป็นจริงจะเข้าไปทำงานในกลุ่มคำสั่งที่เรากำหนดไว้ แต่ถ้าเป็นเท็จจะข้ามไป ถ้าใครลืมลองย้อนกลับไปดูในบทความตอนที่แล้วนะครับสำหรับในตอนนี้ เราจะพูดถึงเงื่อนไขในแบบที่ 2 คือ if...else กันต่อเลยนะครับ
2 .แบบ 2 เงื่อนไข (if...else) มีรูปแบบดังนี้

จากรูปแบบของคำสั่งจะเห็นว่าจะมีลักษณะการเขียนคล้ายกับแบบ simple if แต่จะมีการเพิ่มเติมคำว่า else เข้าไปด้วย ซึ่งการทำงานของคำสั่งแบบนี้นั้นจะทำการตรวจ สอบเงื่อนไขที่ if ก่อนว่าเป็นจริงหรือเท็จ โดยถ้าเป็นจริงจะไปทำงานในกลุ่มคำสั่งที่เรากำหนดไว้ใน if แต่ถ้าเป็นเท็จก็จะไปทำงานในกลุ่มคำสั่งที่อยู่ในส่วนของ else ซึ่งจะ เป็นเหมือนมีทางเลือก 2 ทางนั่นเอง ลองมาดูแผนภาพของคำสั่งแบบ if...else กันนะครับ

ดูจากแผนภาพแล้วจะเห็นว่าเมื่อเงื่อนไขเป็นจริงจะวิ่งเข้ามาทำตามกลุ่มคำสั่งที่เรากำหนดไว้ในกลุ่มแรก แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จก็จะวิ่งเข้ามาที่กลุ่มคำสั่งของ else ในกลุ่มที่ 2 จากนั้นจึงค่อยมาทำที่คำสั่งในส่วนถัดมาของโปรแกรมต่อไป ลองมาดูตัวอย่างที่เป็นโปรแกรมกันเลยครับ


อธิบายโปรแกรม จากโปรแกรมใน main method จะประกาศตัวแปรไว้ 3 ตัวคือ x = 8 , y = 2 และตัวแปร z จากนั้นมาเจอคำสั่ง if โดยมีเงื่อไข ว่า x มากกว่าหรือเท่ากับ y ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะเข้ามาทำคำสั่งภายในส่วนของ if ทันที คือให้หาค่าของ x-y และแสดงผลออกมา แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จจะข้ามาทำส่วนของ else ของโปรแกรมคือ หาค่าของ x+y และแสดงผลออกมา เมื่อรันโปรแกรมนี้แล้วจะได้ผลลัพธ์คือ z = 10 นะครับ ให้ลองเปลี่ยนค่า x ให้น้อยกว่าค่า y ดูนะครับ แล้วลองรันโปรแกรมดูใหม่ครับว่า ผลออกมาจะเป็นอย่างไร?

ต่อไปผมจะมาเฉลยสิ่งที่ผมเคยถามไว้ในบทความคราวที่แล้วนะครับ ลองย้อนไปดูนะครับว่าผมทิ้งคำถามไว้ว่าอย่างไร สำหรับคนที่รู้แล้วก็อ่านผ่านไปได้เลยครับ สำหรับใคร ที่ยังไม่เคลียผมจะเฉลยให้ฟังว่า จากตัวอย่างที่ผมให้ไปคิดนั้นจะเห็นว่าผมไม่ได้ใส่เครื่องหมายปีกกาหลังจากที่ใช้คำสั่ง if ในกรณีนี้ถ้าหากว่าเงื่อนไขของ if เป็นจริงนั้นมันจะ ทำคำสั่งที่อยู่หลังจาก if เพียงแค่บรรทัดเดียวเท่านั้นครับ คือ z=x-y หลังจากนั้นก็จะทำคำสั่งในบรรทัดที่เหลือทั้งหมด เพราะมันจะมองว่าบรรทัดที่เหลือนั้นไม่ได้อยู่ในส่วน ของเงื่อยไข if นั่นเอง ดังนั้นถ้าคุณลองรันโปรแกรมดูจะเห็นว่า ไม่ว่าเงื่อนไขจะจริงหรือเท็จนั้นจะแสดงค่า z = ออกมา 2 ค่าเสมอ เราจึงควรระวังการใช้งานในส่วนนี้ให้ดี ด้วยนะครับ ให้ใช้เครื่องหมายปีกกาครอบคลุมให้ถูกที่ถูกทางไม่งั้นโปรแกรมเราจะทำงานผิดพลาดอย่างแน่นอน
สำหรับบทความนี้ผมคงขอจบเพียงเท่านี้ครับ ค่อยๆ เรียนรู้ไปทีละนิดครับ ไม่มีอะไรยากเกินไปสำหรับคนที่ใฝ่รู้ครับ ...


คุณอาจสนใจ
ของดีที่ซ่อนอยู่ใน Windows
เว็บไทยดีดี (15,280 - 28 ก.ค. 50)
การใช้ PHP ทำเครื่องคิดเลขอย่างง่าย
Tung (74,249 - 07 ธ.ค. 50)
การทำกรอบภาพแบบ Halftone
Lee (244,430 - 25 ธ.ค. 49)
การใช้คำสั่ง <p>
สายลม (64,666 - 04 มิ.ย. 49)
การใช้เงื่อนไขใน Query
อ้อม (29,589 - 30 เม.ย. 50)
การตั้งค่าภาษาไทยให้กับ Dreamweaver 8
Mr.GuruZ (138,064 - 01 ส.ค. 49)
การ์ตูน Flash อย่างง่ายตอนที่ 4 (การทำMovie Shortการ์ตูนขยับ)
Black-Hawk (197,439 - 21 ม.ค. 51)
วิธีคำนวณ Data Transfer ของเว็บทำอย่างไร
เว็บไทยดีดี (14,305 - 19 ม.ค. 51)