ชนิดข้อมูลของตัวแปร จัดทำโดย : Mr.POP พิมพ์
 Untitled Document

สวัสดีครับ จากบทความที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของภาษาไปแล้ว ในบทนี้เราจะมาเรียนรู้เเกี่ยวกับชนิดข้อมูลของตัวแปร และ เครื่องหมายทาง คณิตศาสตร์ใน java กันบ้างนะครับ เรามาดูตารางต่อไปนี้กันเลยครับ เป็นการแสดงลักษณะของชนิดข้อมูลแต่ละประเภทให้เห็นครับ

ตัวแปรและชนิดของข้อมูล(Variables and Primitive Types)

จากตารางเป็นชนิดของข้อมูลที่เราจะใช้ในการเขียนโปรแกรม ทำไมเราต้องรู้เรื่องนี้ด้วยล่ะครับ ? ก็เพราะว่าต่อไปเราจะมีการประกาศตัวแปรขึ้นมาใช้งานในโปรแกรม แล้วล่ะครับ ตัวแปรที่ใช้ในการคำนวณหรือรับค่านั้นจะต้องระบุขอบเขตให้กับมันด้วย

ิิboolean เก็บค่าได้ 2 ชนิด คือ true กับ false

byte เก็บจำนวนตัวเลขได้แค่ -127 ถึง 128

int เก็บค่าจำนวนเต็ม เก็บเป็นทศนิยมไม่ได

long เก็บค่าจำนวนเต็มได้มากกว่า int เก็บเป็นทศนิยมไม่ได

float เก็บค่าจำนวนจริงเป็นทศนิยมได้

double เก็บค่าจำนวนจริงเป็นทศนิยมได้ และเก็บค่าได้มากกว่า float

ลองดูตัวอย่างโปรแกรมต่ไปนี้นะครับ

อธิบายโปรแกรม จากโค้ดโปรแกรมจะเป็นตัวอย่างการประกาศตัวแปรและทำการ assign ค่าให้กับตัวแปร การ assign ค่าให้กับตัวแปรนั้น สามารถทำได้ในบรรทัดเดียวกับตัวแปร เลยก็ได้ เช่นเ ตัวแปร x มีชนิดเป็น boolean กำหนดเป็นค่า true ซึ่งขอบเขตของตัวแปรนี้มีแค่ true กับ false เท่านั้น ตัวแปร y มีการกำหนดค่าเริ่มต้นให้เป็น 10 เป็นชนิด int หรือมีอีกวิธีหนึ่งคืออาจจะประกาศชนิดของตัวแปรไว้ก่อนแล้วนำมาใช้ที่หลังก็ได้ เช่นเดียวกับตัวแปร z

เครื่องหมายคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operators)

จากตารางเป็นการแสดงถึงเครื่องการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ โดยเราสามารถนำตัวแปรต่างๆ มาสร้างประโยคในการคำนวณได้ ผมคิดว่าเครื่องหมายดำเนินการ + ,- .* และ / คงไม่มีปัญหานะครับ แต่เรามาเริ่มดูเครื่องหมาย % กันครับ ความหมายของมันคือ หารเอาแต่เศษนะครับ เหลือเศษเท่าไหร่ก็เอามาตอบครับ ส่วนเครื่องหมายที่น่า สนใจอีกชนิดคือ - - และ ++ จะเป็นการลดและเพิ่มค่าทีละหนึ่งครับ แต่ถ้าจะเพิ่มค่ามากกว่าหนึ่ง ให้ใช้เครื่องหมายตาม 2 ช่องล่างสุดตามตารางครับ ลองดูตัวอย่างโปรแกรมต่อไปนี้ครับ

อธิบายโปรแกรม จะเห็นว่าผมประกาศตัวแปรมา 3 ตัว ซึ่งเป็นชนิด int เหมือนกันหมด เราสามารถประกาศตัวแปรพร้อมกันในบรรทัดเดียวกันได้นะครับโดยคั่นด้วย "," นะครับ บรรทัดถัดมาผมบวกค่า x เพิ่มทีละหนึ่งโดยใช้เครื่องหมาย ++ ส่วน y ผมเพิ่มค่าให้อีก 3 โดยใช้เครื่องหมาย += ครับ แล้วสุดท้ายให้คำนวณค่า z โดยเป็น ผลคูณของ x กับ y ผลลัพธ์ที่ได้ คือ 88 ให้ทดลองเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายอื่นกันดูนะครับนอกจากที่ยกตัวอย่างมาให ้เพื่อเพิ่มความเข้าใจของท่านเอง

เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับหัวข้อของบทความในครั้งนี้ จุดประสงค์ของผมก็คือให้เราได้ฝึกประกาศตัวแปรชนิดต่างๆ และใช้เครื่องหมายดำเนินการทางคณิตศาสตร์เป็น สำหรับบทความนี้ผมขอพูดถึงแค่ 2 หัวข้อนี้ ยังมีหัวข้อที่เราจะต้องรู้อีก คือ เครื่องหมายเปรียบเทียบและเครื่องหมายทางตรรก ผมขอแยกไปเขียนไว้ในบทต่อไปนะครับ เพื่อไม่ให้ดูเยอะเกินไป ค่อยๆเรียนรู้ไปทีละนิดครับจะได้เข้าใจได้ดี ผมมีคำถามครับลองดูตัวอย่างโปรแกรม 2 โปรแกรมต่อไปนี้ครับ

คำถาม ถามว่าสองโปรแกรมนี้ต่างกันหรือเปล่าครับ ถ้าตอบว่าต่างกัน ให้ช่วยอธิบายให้ผมฟังที่ว่าต่างอย่างไรครับ ??

สำหรับบทความนี้ผมขอจบเพียงเท่านี้ครับ เจอกันบทความหน้าครับ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามบทความครับ...


คุณอาจสนใจ
การคำนวณข้ามชีท
nut (62,503 - 02 ก.ค. 49)
มือใหม่ไม่เข้าใจอุปกรณ์เครือข่าย
เว็บไทยดีดี (17,578 - 03 พ.ค. 51)
วิธีคำนวณ Data Transfer ของเว็บทำอย่างไร
เว็บไทยดีดี (14,305 - 19 ม.ค. 51)
การใช้งาน String Class (ตอนที่ 2)
Mr.POP (45,637 - 05 พ.ย. 49)
การเปลี่ยนรูปทรงโดยใช้ Motion Shape
Mr.GuruZ (90,632 - 04 มิ.ย. 49)
โคลนนิ่งอย่างงายโดยใช้ Layer Mask
langjuko (191,969 - 16 พ.ค. 51)
พิมพ์ลายน้ำแบบข้อความลงบนเอกสาร
Mr.K (33,853 - 13 ม.ค. 50)
การใช้งาน Layer
Mr.GuruZ (44,389 - 04 มิ.ย. 49)