Untitled Document
เจาะลึกการใช้ Symbolism Tool และ Data Driven Graphic กับงานพิมพ์ และงานเว็บ (ตอนจบ)
รูปที่ 14 ดับเบิลคลิ้กที่แถบชื่อข้อมูลแล้วกำหนดชนิดของข้อมูลใน Variable Options ทีละอันๆ จนครบ
จากนั้นดับเบิลคลิ้กที่แถบชื่อข้อมูลใน Variables Palette จะมีหน้าต่าง Variables Option ปรากฏขึ้นมาให้ตั้งชื่อและกำหนดชนิดของการลิงก์ข้อมูล ให้ทำทีละอันๆ จนครบทุกอัน (ดูรูปที่ 14)
ในช่อง Type ของหน้าต่าง Variables Options คือ ชนิดของการลิงก์ข้อมูล ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนข้อมูล จากตัวอย่างกำหนดให้รูปโลโก้เป็นชนิด Linked File และข้อมูลอื่นๆ เป็น Text String
สร้างชุดข้อมูล (Data Set)
รูปที่ 15 คลิ้กปุ่ม Capture Data Set เพื่อทำให้เป็นชุดข้อมูลจะมีชื่อชุด Data Set 1 ปรากฏขึ้นมา
การสร้างชุดข้อมูล เหมือนกับเราตัดเสื้อผ้า ข้อมูลส่วนที่ไม่เปลี่ยนแปลงเปรียบได้กับรูปร่างหน้าตาของเราที่เหมือนเดิม แต่เปลี่ยนเฉพาะเสื้อ กางเกง รองเท้า นี่คือชุดนอน ชุดไปงานเลี้ยง ชุดทำงาน เปรียบเหมือนข้อมูลส่วนที่เปลี่ยนแปลงชุดที่ 1 ชุดที่ 2 ชุดที่ 3 เป็นต้น การสร้างชุดข้อมูลให้คลิ้กที่ “Capture Data Set” หรือปุ่ม >>35.tif<< ใน Variables palette เพื่อจับข้อมูลที่กำหนดให้เปลี่ยนแปลงได้ที่ปรากฏบนพื้นที่ทำงานในขณะนั้นให้กลายเป็นชุดข้อมูล data set1 (รูปที่ 15)
เมื่อได้ชุดข้อมูลแรกแล้ว ก็สร้างชุดข้อมูลอื่นๆ ต่อไป โดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งภาพและข้อความใหม่เสียก่อน สังเกตดูเมื่อเริ่มพิมพ์ข้อมูลใหม่ รายละเอียดของข้อมูลใน Variables Palette จะเปลี่ยนตาม ส่วนวิธีเปลี่ยนรูปทำได้โดยคลิ้กปุ่ม Replace Link ใน Link Palette (ดูรูปที่ 16)
เมื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลเสร็จแล้วทำให้เป็นชุดข้อมูลโดยกดปุ่ม Capture Data Set อีกครั้งจะได้ชุดข้อมูลใหม่ แต่ยังอยู่ในไฟล์เดียวกัน คือ Data set 2 ถึงตอนนี้จะมีชุดข้อมูลในงานแล้ว 2 ชุด คือ Data Set 1 และ Data Set 2 ลองคลิ้กที่ปุ่มลูกศรซ้ายขวาที่อยู่ข้างๆ ชื่อ Data Set จะเห็นหน้าตาของงานที่เปลี่ยนไปตามชื่อชุดข้อมูล (ดูรูปที่ 17)
รูปที่ 16 เปลี่ยนภาพเป็นภาพใหม่โดยคลิ้กปุ่ม Replace Link ใน Link Palette แล้วเลือกไฟล์ภาพใหม่
รูปที่ 17 คลิ้กปุ่มลูกศรซ้ายขวาข้างๆ ชื่อ Data Set จะเห็นหน้าตางานเปลี่ยนไปตามชื่อชุดข้อมูล
ให้ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จะได้เป็น Data Set 3, 4, 5 ฯลฯ จนครบทุกชุดข้อมูล จากตัวอย่างนี้มีชุดข้อมูลอยู่ 6 ชุด เมื่อทำครบแล้วก็มาถึงขั้นตอนสุดท้าย คือ ทำให้เป็นไฟล์งานกราฟิก
สร้างชุดคำสั่งเพื่อแปลงชุดข้อมูลให้เป็นไฟล์งานกราฟิกออกมาโดยอัตโนมัติ
เป็นขั้นตอนการนำเทมเพลตมาใช้ในงานผลิต คือ ทำการแปลงเป็นไฟล์กราฟิก วิธีการทำ ให้สร้างชุดคำสั่งใหม่ใน Action Palette ซึ่งเรียกใช้ได้โดยคลิ้กเลือกเมนู Window>Actions แล้วคลิ้กที่ปุ่ม New Action จะมีหน้าต่าง New Action ปรากฏขึ้นมาให้ตั้งชื่อและกำหนดปุ่มคีย์ลัด (Function Key) ของ Action แล้วคลิ้ก Record จากตัวอย่างตั้งชื่อว่า “Data Driven Graphic”
รูปที่ 18 สร้างคำสั่งใหม่ใน Action Palette
รูปที่ 19 คลิ้กปุ่ม Stop ใน Action Palette เพื่อหยุดการบันทึก
จากนั้นก็คลิ้กเลือกเมนู File>Save As ให้ตั้งชื่อและเลือกเซฟเทมเพลตในฟอร์แมตที่ต้องการ จากตัวอย่างเราสร้าง Action เพื่อเซฟนามบัตรใน EPS format ตั้งชื่อไฟล์ว่า Datadriven.eps เสร็จแล้วก็คลิ้กปุ่ม Stop ใน Action palette เพื่อหยุดการบันทึก (ดูรูปที่ 19)
จากนั้นก็ใช้คำสั่ง Batch เพื่อทำการแปลงชุดข้อมูล (Data Set) เป็นไฟล์กราฟิก โดยคลิ้กที่สามเหลี่ยมมุมขวาบนของ Action palette แล้วเลือกเมนู “Batch” จะปรากฏหน้าต่าง Batch ขึ้นมา ค่าต่างๆ จะกำหนดมาให้ตามปกติ สิ่งที่ต้องกำหนดใหม่คือ ในช่อง Action ให้เลือกชื่อ Action ที่เราเพิ่ง record ไปคือ “Data Driven Graphic” (ดูรูปที่ 20)
รูปที่ 20 เลือกชื่อ Action ที่ทำไว้ในหน้าต่าง Batch แล้วคลิ้ก OK เพื่อแปลงข้อมูลเป็นไฟล์กราฟิก
รูปที่ 21 คำสั่ง Batch สั่งแปลงข้อมูลเป็นไฟล์งานทั้งหมด 6 ไฟล์โดยอัตโนมัติ
จากนั้นก็เลือกโฟลเดอร์เพื่อใช้เก็บไฟล์ที่จะเซฟ โดยคลิ้กปุ่ม Choose ที่อยู่เหนือหัวข้อ Override Action “Save” Commands เพื่อระบุว่าจะให้เซฟไฟล์ไว้ที่ไหน ถ้าเราไม่คลิ้กตรงนี้ โปรแกรมจะทำการเซฟไว้ที่เดียวกับไฟล์ต้นฉบับ
รูปที่ 22 ตัวอย่างงานเว็บที่ใช้แนวคิดของ Data Driven Graphic ช่วยทำได้ คือ มีหน้าตาของเลย์เอาต์เหมือนกัน แต่เปลี่ยนเฉพาะเนื้อหา คือกราฟ และรูปสินค้า
เมื่อคลิ้ก OK ในหน้าต่าง Batch เป็นการเริ่มกระบวนการแปลงข้อมูลเป็นไฟล์กราฟิก โปรแกรมจะเซฟงานตั้งแต่ Data Set 1 ไปจนถึง Data Set สุดท้ายไว้ในโฟลเดอร์ที่เราระบุ เป็น EPS ฟอร์แมตตามคำสั่งใน Action จากตัวอย่างมี Data Set 6 ชุด จึงเกิดเป็นไฟล์ EPS ทั้งหมด 6 ไฟล์ (ดูรูปที่ 21)
ฟังก์ชันใหม่อันนี้ช่วยทำให้เราแก้ไขข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น แต่บางคนอาจจะบอกว่าดูยุ่งยาก แต่เป็นธรรมดาของฟังก์ชันออกใหม่ก็อาจจะงงหน่อยค่ะ ถ้าข้อมูลเรามีจำนวนน้อยก็ใช้วิธีธรรมดาที่คุ้นเคยคงจะทำให้ง่ายและเร็วกว่า แต่ถ้าข้อมูลเรามีจำนวนมากๆ เช่น ทำแบนเนอร์ของเว็บ, ทำ Presentation ข้อมูลสถิติต่างๆ ฯลฯ การหัดใช้ฟังก์ชันนี้ก็จะช่วยให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งการทำเทมเพลตนี้นอกจากจะใช้สร้างไฟล์ประเภทสิ่งพิมพ์แล้ว ยังสามารถนำไปใช้งานด้านเว็บได้อีกด้วย (ดูรูปที่ 22)
ถึงตอนสุดท้ายแล้วก็คงได้รู้จักโปรแกรมและใช้งาน Illustrator ไปมากพอที่จะวาดกันได้อย่างสนุกแล้วนะคะ
ข้อมูลจาก : http://www.arip.co.th
โดย ธนิศา ไชยภูริพัฒน์
|