เจาะลึกการใช้ Symbolism Tool และ Data Driven Graphic กับงานพิมพ์ และงานเว็บ (ตอนต่อ) จัดทำโดย : ธนิศา ไชยภูริพัฒน์ พิมพ์
 Untitled Document

เจาะลึกการใช้ Symbolism Tool และ Data Driven Graphic กับงานพิมพ์ และงานเว็บ (ตอนต่อ)

Symbol SpinnerTool ใช้ควบคุมทิศทางการหมุนของ Symbol ขณะแดรกบน Symbol
จะมีลูกศรแสดงให้เห็นทิศทางการหมุนของรูปด้วยว่ากำลังถูกดึงให้หันไปทิศทางไหน (ดูรูปที่ 8)



รูปที่ 8 ใช้ Symbol Scruncher Tool หมุน Symbol จะมีลูกศรแสดงทิศทางการหมุนด้วย

Symbol Stainer Tool



รูปที่ 9 ใช้ Symbol Stainer Tool ย้อมสีแดงลงไปบน Symbol รูปโคมสีเหลือง

ใช้ย้อมสีของ Symbol จากสีเดิมให้เป็นสีใหม่แต่ยังคงโทนของรูปไว้ ซึ่งจะไม่มีผลกับบริเวณที่เป็นสีดำหรือสีขาว (ให้ผลเหมือนการทำ Colorization ใน Photoshop) และยังสามารถกำหนดน้ำหนักความเข้มอ่อนได้ด้วย ถ้าเราแช่เมาส์ค้างตรง Symbol ไหนนานๆ Symbol นั้นจะถูกย้อมสีมาก ถ้าแดรกผ่านเร็วๆ หรือคลิ้กทีละนิด จะค่อยๆ ย้อมทีละนิดเป็นการผสมสีใหม่ลงไปบนสีเดิม (ดูรูปที่ 9) และถ้าต้องการยกเลิกการย้อมให้คืนกลับเป็นสีเดิม ให้กดคีย์ Alt ค้างขณะคลิ้ก หรือ แดรกบน Symbol จะเป็นการค่อยๆ คืนสู่สีเดิมทีละนิดๆ เช่นกัน ส่วนที่ย้อมมากจะเป็นสีแดง ส่วนย้อมน้อยจะเป็นสีส้ม

Symbol Screener Tool
ใช้ควบคุมความโปร่งแสงของ Symbol ถ้าแดรกบน Symbol ตามปกติจะทำให้โปร่งแสงมากขึ้น แต่ถ้ากดคีย์ Alt ค้างขณะคลิ้กหรือแดรกจะทำให้ทึบลง

Symbol Styler Tool
ใช้ใส่ Style จาก Style Palette ให้กับ Symbol โดยวิธีการทำต้องคลิ้ก เลือกเครื่องมือ Symbol Styler ก่อนแล้วจึงเลือกรูปแบบ Style จาก Style Palette แล้วค่อยแดรกบน Symbol ที่ต้องการใส่ Style ถ้าสลับลำดับการทำจะกลายเป็นการใส่ Style ให้กับ Stymbol ทุกชิ้นในชุดแทน

เปลี่ยนรูปในชุด Symbol เดิม เป็นรูปใหม่

ข้อดีของการใช้ Symbol คือ ถ้าเราจะเปลี่ยนรูปใหม่ไปแทนที่รูปเดิมในตำแหน่งเดิมนั้นง่ายมาก เพียงแต่เลือกรูปใหม่ใน Symbol Palette แล้วคลิ้กปุ่ม Replace Symbol (ดูรูปที่ 10)



รูปที่ 10 เปลี่ยน Symbol ทั้งชุดเป็นรูปใหม่ได้โดยคลิ้กเลือกรูปใหม่แล้วคลิ้กปุ่ม Replace Symbol

ลองเอาหลักการใช้เหล่านี้ไปทดลองใช้ดู เพราะเท่าที่ได้ทดลองใช้วาดรูปดูแล้วก็สนุกไม่เบา (ดูรูปที่ 11)



รูปที่ 11 นอกจากแฟลร์และพื้นหลังแล้ว ภาพนี้วาดด้วย Symbolism Tool โดยใช้ Symbol ทั้งหมด 4 แบบ

Data-driven graphics

เคยสังเกตมั้ยว่า ทำไมบางเว็บมีแบนเนอร์โฆษณาอยู่เยอะมาก และอัพเดตบ่อยๆ เขาทำกันยังไงถึงสามารถอัพเดตกันได้เร็วมากชนิดอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง หรือถ้าเร็วจริงๆ วันต่อวันเลยก็ยังมี หรือในงานออกแบบบางชนิด เช่น นามบัตร หรืองาน presentation ที่เน้นการแสดงข้อมูลมากๆ แต่มีรูปแบบการจัดหน้าแบบเดียวกัน งานที่ต้องทำซ้ำๆ กันแบบนี้ ต้องทำใหม่ทุกครั้งเลยหรือ ? ไม่มีวิธีที่ง่ายกว่านี้แล้วหรือ?? เมื่อก่อนนักออกแบบต้องทำการ copy ดีไซน์ต้นแบบเป็นจำนวนมาก แล้วค่อยๆ เปลี่ยนรูปและข้อมูลตัวหนังสือทีละอันๆ ไปเรื่อยๆ จนครบ ซึ่งในขั้นตอนของการ copy แล้ว paste มาทำทีละอันนี้ อาจเกิดความผิดพลาดในส่วนที่เราไม่ต้องการเปลี่ยนได้ เช่น โลโก้บนนามบัตรซึ่งควรจะอยู่ตำแหน่งเดียวกันทุกอัน ได้เลื่อนไปจากตำแหน่งเดิม เป็นต้น

บางคนอาจจะสงสัยว่า ไม่มีวิธีช่วยลดความผิดพลาดแบบนี้เลยหรือ?? คำตอบคือ มีแล้วค่ะ !! ด้วยการทำดีไซน์ต้นแบบเหมือนเทมเพลตแล้วเปลี่ยนแปลงเฉพาะข้อมูลย่อยๆ บางอย่าง แล้วใช้คำสั่งจัดการแปลงข้อมูลเหล่านั้นให้เป็นไฟล์กราฟิกโดยอัตโนมัติ (Data Driven Graphic)

ตัวอย่างเช่น เราจะทำการออกแบบนามบัตรให้บริษัทที่มีบริษัทในเครือทั้งหมด 2 บริษัท นามบัตรของแต่ละบริษัทมีรูปแบบงานดีไซน์ร่วมกันแต่เปลี่ยนข้อมูลย่อยๆ บางอย่าง จึงแบ่งข้อมูลได้เป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ ภาพโลโก้, ชื่อบริษัท, ชื่อพนักงาน, ตำแหน่ง, หมายเลขโทรศัพท์มือถือ, อีเมล์ และส่วนที่เป็นข้อมูลคงที่ ได้แก่ ที่อยู่และโฮมเพจ บริษัท เมื่อแยกแยะประเภทของข้อมูลได้แล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนของการสร้างเทมเพลต โดยมีหลักการในการสร้างเทมเพลต ดังนี้

สร้างดีไซน์ต้นแบบขึ้นมาก่อน
จากตัวอย่าง นามบัตรมีเลย์เอาต์เดียวกัน แต่มีโลโก้ต่างกัน ดังนั้น ให้สร้างเพียงเลย์เอาต์เดียว แต่สร้างโลโก้ไว้ 2 ภาพ แล้วเซฟเป็นภาพชนิด Bitmap เก็บไว้ในโฟลเดอร์เดียวกับไฟล์เลย์เอาต์ให้ชื่อว่า logo.tif และ logo2.tif (ดูรูปที่ 12)



รูปที่ 12 สร้างดีไซน์ต้นแบบโดยทำไฟล์เลย์เอาต์ไว้แค่ไฟล์เดียว (ซ้าย) แต่ทำไฟล์โลโก้ไว้ 2 ไฟล์ (ขวา)

กำหนดให้ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้เป็นตัวแปร



รูปที่ 13 คลิ้กปุ่ม Make Object Dynamic ทำให้ข้อมูลที่ต้องการให้เปลี่ยนแปลงได้เป็นตัวแปร

หลักการของเทมเพลตนั้นจะต้องแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เปลี่ยนแปลงได้กับส่วนที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เราจะกำหนดให้ส่วนที่เปลี่ยนแปลงได้เป็นตัวแปร โดยการใช้ Variables Palette ซึ่งเรียกใช้ได้โดยคลิ้กเลือกเมนู Window> Variables วิธีการทำให้คลิ้กเลือกวัตถุที่ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลแล้วคลิ้ก ปุ่ม Make Object Dynamic หรือปุ่ม Make Visibility Dynamic ใน Variables Palette ทีละอันๆ จนครบ (ดูรูปที่ 13) โดยถ้าวัตถุนั้นเป็นภาพต้องเป็นภาพที่ยังลิงก์อยู่

ข้อมูลจาก : http://www.arip.co.th
โดย ธนิศา ไชยภูริพัฒน์

คุณอาจสนใจ
การใช้คำสั่ง แบบ if...else
Mr.POP (52,004 - 05 พ.ย. 49)
การผสานและจัดกึ่งกลางเซล
หมูขุน (41,369 - 13 มิ.ย. 51)
สร้างปกหนังสือด้วย tool
langjuko (324,482 - 28 ต.ค. 51)
เทคนิคการใส่ข้อความใน TextBox โดยใช้ PHP
Mr.GuruZ (46,896 - 03 มิ.ย. 49)
การใช้คำสั่งวนลูป while
Mr.GuruZ (32,199 - 03 มิ.ย. 49)
สร้างอักษร 3 มิติ ด้วย Illustrator CS2 (อีกวิธีหนึ่ง)
เว็บไทยดีดี (84,636 - 20 ต.ค. 50)
ยกเลิกแจ้งเตือน Unused Icons
เว็บไทยดีดี (13,656 - 22 ก.ย. 50)
สร้างพื้นหลังสวยๆสไตล์นักธุรกิจ โดย Illustartor
langjuko (139,439 - 19 ก.ย. 51)