แอนิเมชันสุดเฉียบ ใน Flash MX กับงาน Multimedia (ตอนที่ 1)
เหตุผลที่ใครต่อใครเลือกใช้ Flash เป็นโปรแกรมที่นำมาสร้างงาน Multimedia แทนที่จะใช้โปรแกรมอื่นนั้น น่าจะเป็นเพราะ Flash ทำแอนิมเชันได้ดี ใช้ทรัพยากรน้อยกว่าโปรแกรมอื่น แถมยังมีมีภาษาเป็นของตัวเองที่ทำงานได้มากพอสมควร และสุดท้ายก็คือมันเพิ่งออกเวอร์ชันใหม่ ซึ่งมีอะไรดีๆ เพิ่มขึ้นมาอีกมากมาย
เหตุผลที่ใครต่อใครเลือกใช้ Flash เป็นโปรแกรมที่นำมาสร้างงาน Multimedia แทนที่จะใช้โปรแกรมอื่นนั้น น่าจะเป็นเพราะ Flash ทำแอนิมเชันได้ดี ใช้ทรัพยากรน้อยกว่าโปรแกรมอื่น แถมยังมีมีภาษาเป็นของตัวเองที่ทำงานได้มากพอสมควร และสุดท้ายก็คือมันเพิ่งออกเวอร์ชันใหม่ ซึ่งมีอะไรดีๆ เพิ่มขึ้นมาอีกมากมาย
สื่อบันทึกในรูปแบบมัลติมีเดีย (multimedia) นั้น จะว่าไปแล้วก็น่าจะเกิดมาพร้อมๆ กับโปรแกรมที่เปลี่ยนประวัติศาสตร์ในวงการคอมพิวเตอร์ นั่นก็คือวินโดวส์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีการทำงานโดยผ่านทางกราฟิก (Graphic User Interface) ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก ในสมัยที่เป็น วินโดวส์ 3.x นั้น อที่ผลิตออกมาส่วนใหญ่จะเป็นรูปสารคดี สารานุกรม เป็นต้น ตอนนั้นเทคโนโลยีในการผลิตจะว่าไปก็ถือว่าล้าหลังกว่าปัจจุบันนี้มาก
โปรแกรมสำหรับผลิตสื่อมัลติมีเดีย
โปรแกรมแนวนี้ หรือที่เรียกว่า authoring tools นั้นมีไม่กี่โปรแกรม ที่ได้ยินกันบ่อยๆ ก็จะเป็น authorware, director, toolbook โดยแต่ละตัวนั้นก็สุดแสนจะใช้งานได้ยากยิ่งเนื่องจากหนังสือภาษาไทยที่เขียนเกี่ยวกับโปรแกรมเหล่านี้มีน้อย ถ้าจะเปรียบเทียบโปรแกรมทั้ง 3 ตัว ก็จะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่าง คือ authorware
authorware จะใช้งานได้ง่ายที่สุด โดยจะเขียนในรูปของ flow chart ในการทำงาน แต่ลูกเล่นจะน้อย มีข้อจำกัดในเรื่องของการใส่ข้อมูลลงไปด้วย คือจะใส่ได้กำจัด และไฟล์ที่ออกมาจะเป็นไฟล์ใหญ่ๆ ไฟล์เดียว ซึ่งจะเปลืองเมโมรีในการโหลด
ส่วน director ถือว่าดีในแง่ของความสวยงาม มีภาษา lingo เป็นของตัวเองในการเขียนสคริปต์
สำหรับ toolbook นั้นผมว่าคงจะมีคนรู้จักน้อยที่สุดเนื่องจากสื่อที่เห็นๆ ในเมืองไทยไม่ค่อยเขียนด้วย toolbook และการใช้งานก็ยากมากด้วย แต่มีข้อดีในการทำสื่อในลักษณะการเรียนการสอน โดยจะมีอุปกรณ์สำเร็จรูปเกี่ยวกับการทำแบบฝึกหัด ผู้ที่ใช้ toolbook เป็นในเมืองไทยเป็นนั้นมีน้อย สำหรับผมถือว่าโชคดีที่มีอาจารย์มาสอนให้ ไม่อย่างนั้นก็คงจะไม่รู้จักโปรแกรมตัวนี้ ข้อเสียของ toolbook ก็คือเรื่องของความสวยงามทางด้านกราฟิกที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ต้องใช้โปรแกรมอื่นเข้าช่วยอย่างสุดๆ เพื่อให้ได้ผลงานออกมาสวยงาม นอกจากนี้ยังใช้ทรัพยากรมากด้วย
จากตอนนั้นมาจนปัจจุบัน โปรแกรม authoring tool ก็มีการพัฒนาตัวเองกันมากขึ้น และก็มีโปรแกรมออกมาใหม่ๆ อีก นอกจากนี้เทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลก็ดีขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น การเก็บเสียงในรูปแบบของ mp3 ซึ่งมีการบีบอัดข้อมูลได้มาก ภาพประเภท jpeg ที่มาแทนที่ bmp เป็นต้น authorware และ director ตอนนี้อยู่ในการผลิตของ macromedia หนังสือที่สอนเกี่ยวกับโปรแกรมทั้ง 2 ก็ออกมาเกลื่อนตลาด ส่วน toolbook นั้นก็มีคนเขียนตำราออกมาบ้างแต่ยัง เป็นเวอร์ชัน 5 ตั้งแต่สมัยวินโดวส์ 3.x
เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะไม่มีการก๊อบปี้แผ่นเถื่อนออกมาในเวอร์ชันใหม่ๆ ดังนั้น สำหรับผู้ที่เรียนรู้เกี่ยวกับ toolbook ผมว่าควรหยุดคิดก่อนลงมือทำ เพราะอาจจะเป็นการเสียเวลาเปล่าๆ ก็ได้ จากที่ผมเคยทดลงใช้ สำหรับเวอร์ชันใหม่ๆ ของ toolbook ก็เห็นว่ามีการพัฒนาขึ้นมาก แต่ปัญหาเดิมก็ยังคงอยู่ นั่นคือเรื่องการใช้ทรัพยากรที่ค่อนข้างมาก
ถึงยุคของ Flash
4 - 5 ปีที่ผ่านมา macromedia ได้ผลิตโปรแกรมขึ้นมาชื่อว่า Flash วัตถุประสงค์ของ Flash ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นสื่ออีกชนิดหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต โดยจะเป็นภาพเคลื่อนไหวชนิดเวกเตอร์ ซึ่งใช้ขนาดของไฟล์น้อยมาก และยังสามารถแสดงภาพแบบ stream ได้โดยที่ยังไม่ต้องรอโหลดมาให้หมดก่อน ในเวอร์ชันแรกๆ ของ flash นั้นก็มีความสามารถที่ไม่มากนักส่วนใหญ่ก็จะเกี่ยวกับเรื่องการแสดงภาพ
สำหรับภาษาสคริปต์ก็จะมี action script เป็นภาษาของตัวเอง พอเริ่มเข้าเวอร์ชัน 4 flash ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นมาก บราวเซอร์ต้องติดปลั๊กอินของ flash เข้าไว้กับตัวติดตั้งโปรแกรมของบราวเซอร์ เรียกว่า flash กลายเป็นมาตรฐานหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตไปเลย
รูปที่ 1
ในตอนนั้นก็มีคนเอา flash ไปทำ interactive โปรแกรมบนเว็บ โดยจะลิงก์เข้ากับ cgi ส่วนมากจะไปทำเกี่ยวกับเกม หนังสือเกี่ยวกับ flash มีออกมาวางขายมากมาย จนไม่รู้ว่าจะเลือกอ่านเล่มไหน บางเล่มก็เขียนไม่ต่างจาก help ของโปรแกรม บางเล่มก็เป็น workshop อย่างเดียว จนล่าสุด flash ออกเวอร์ชันใหม่มาเป็น Flash MX (version 6) พร้อมคำสั่ง action script ใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมี component ซึ่งเป็นส่วนประกอบใหม่ ที่ทำให้การทำงานสะดวกขึ้น (ดังรูปที่ 1)
สำหรับประสบการณ์ในการใช้งาน flash ของผมนั้นเริ่มมาตั้งแต่เวอร์ชัน 4 ซึ่งตอนนั้นยังไม่ตำราภาษาไทยออกมา แต่ก็ใช้วิธีการอ่าน help เอา และก็ยังใช้ได้ไม่กี่ฟีเจอร์ จนมาถึงเวอร์ชัน 5 ความรู้ของผมก็ยังไม่มากขึ้นเท่าไรนัก เนื่องจากยังไม่มีเป้าหมายที่สำคัญว่าจะศึกษาเพื่อใช้งานอะไร
พอมาเวอร์ชันล่าสุดซึ่งเป็นเวอร์ชันที่รอมานาน และเนื่องจากผมต้องใช้เพื่อทำงาน CD หนังสือรุ่นตอนเรียนจบ จึงต้องรีบเร่งศึกษาทั้งของใหม่ของเก่า แต่ก็ใช้วิธีเดิมแหละครับ อ่าน help เอา เนื่องจากปัญหาที่มันเป็นของใหม่ ในบทความนี้จึงเป็นการรวบรวมจากประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการทำสื่อทางด้านมัลติมีเดียที่ผมเคยทำมาทั้งหมด โดยจะแทรกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจ รวมถึงการประยุกต์เทคนิคต่างๆ เข้าไว้ด้วย
การเตรียมข้อมูลสำหรับสร้างงาน
ต่อไปผมจะข้ามไปพูดถึงเรื่องการเตรียมข้อมูลดิบ นั่นก็คือในเรื่องของรูปภาพ ในตัวอย่างของผมก็คือการทำอัลบั้ม รูป โดยหลังจากที่สแกนรูปมาเรียบร้อยแล้วก็อาจต้องมาแต่งรูปให้สวยงามก่อนที่จะนำไปใช้แสดงจริง ในที่นี้ผมจะแสดงวิธีการทำรูปแบบมีกรอบขาวบวกกับมีเงาข้างหลังรูป โดยใช้ photoshop 6 ก่อนอื่นต้องทราบในเรื่องความละเอียดของภาพเสียก่อน ความละเอียดของภาพที่จะนำไปแสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์กับที่จะนำไปพิมพ์มันคนละเรื่องกัน ความละเอียดบนจอภาพนั้นไม่ต้องการมากนัก โดยให้กำหนดเท่ากับที่แสดงบนจอภาพ เพราะถ้ากำหนดมากไปหรือน้อยไปแล้วมาขยายหรือย่อใน Flash จะทำให้ภาพเกิดการแตกของภาพ ภาพที่ออกมาก็จะไม่สวย ดังนั้น ต้องกำหนดตั้งแต่ตอนแต่งภาพใน photoshop
รูปที่ 2
วิธีการกำหนดขนาดให้ไปที่เมนู Image - Image Size หรือกด key Alt + I + I จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ขึ้นมา ในที่นี้ผมจะยึดความกว้างไว้ที่ 500 พิกเซล แล้วให้ความสูงของภาพเปลี่ยนแปลงไปตาม โดยจะต้องคลิ้ก เลือกที่ Constrain Proportions ไว้ด้วย เพื่อให้ขนาดความสูงและความความแปรเปลี่ยนไปตามกันด้วยสัดส่วนเท่าเดิม ในช่อง resolution ให้กำหนดเป็น 72 พิกเซลต่อนิ้ว ซึ่งจะเท่ากับขนาดของหน้าจอคอมพิวเตอร์ จากนั้นกดปุ่ม OK เพื่อเปลี่ยนแปลงขนาดของรูป (ดังรูปที่ 2)
รูปที่ 3
ขอแทรกเทคนิคในการขยายหรือย่อวิวของรูปว่า เราสามารถทำได้โดยการใช้สกรอลล์เมาส์เข้าช่วย ต่อไปเราจะต้องทำการ duplicate layer ของรูป เนื่องจากเลเยอร์ที่เราใช้อยู่นั้น เป็นแบ็กกราวนด์ ซึ่งเราจะไม่สามารถทำอะไรกับมันได้ วิธีการ dupilicate layer ก็มีหลายวิธี
วิธีที่ง่ายที่สุดแต่ช้าที่สุด เหมาะสำหรับมือใหม่ ก็ให้ไปที่เมนู layer แล้วเลือก duplicate layer ที่จริงมันเป็นขั้นตอนหนึ่งนั้นคือการเลือก layer ที่ layer panel แต่ในที่นี้ตอนแรกจะมี layer เดียวอยู่แล้วจึงไม่ต้องเลือก layer ให้เสียเวลา หลังจาก duplicate layer แล้ว ผมก็ต้องการให้พื้นหลังเป็นสีขาว ก็ให้ไปเลือกที่ layer background (ดังรูปที่ 3)
ข้อมูลจาก : http://www.arip.co.th
โดย กฤษฎา ศิริชัยสิทธิ์ิ์
|