Flash MX ตอน แสดงวิดีโอใน Flash MX 2004 จัดทำโดย : เชฏฐพงษ์ วิสูจน์สวัสดิ์ พิมพ์


Flash MX ตอน แสดงวิดีโอใน Flash MX 2004

สำหรับจุดเด่นอีกจุดหนึ่งที่ถูกเพิ่มคุณสมบัติเข้ามาใน Flash MX 2004 นั่นก็คือความสามารถในการทำงานกับวิดีโอที่เพิ่มมากขึ้น จากที่เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ทำได้เพียงแค่อิมพอร์ตไฟล์วิดีโอเข้ามาแสดงผลอย่างเดียว มาเวอร์ชั่นนี้ก็ได้เพิ่มส่วนสำหรับตัดต่อวิดีโอ และคอมโพเนนต์สำหรับการแสดงผลวิดีโอ ที่จะช่วยให้การแสดงวิดีโอใน Flash สะดวกยิ่งขึ้น

สำหรับจุดเด่นอีกจุดหนึ่งที่ถูกเพิ่มคุณสมบัติเข้ามาใน Flash MX 2004 นั่นก็คือความสามารถในการทำงานกับวิดีโอที่เพิ่มมากขึ้น จากที่เวอร์ชันก่อนหน้านี้ทำได้เพียงแค่อิมพอร์ตไฟล์วิดีโอเข้ามาแสดงผลอย่างเดียว มาเวอร์ชันนี้ก็ได้เพิ่มส่วนสำหรับตัดต่อวิดีโอ และคอมโพเนนต์สำหรับการแสดงผลวิดีโอ ที่จะช่วยให้การแสดงวิดีโอใน Flash สะดวกยิ่งขึ้น

ตัดต่อวิดีโอด้วย Flash MX 2004


ไฟล์วิดีโอที่จะนำมาตัดต่อด้วยโปรแกรม Flash MX 2004 นั้นควรจะเป็นไฟล์ประเภท MPG/MPEG หรือ AVI เพื่อให้สามารถนำไปแก้ไขความยาวของวิดีโอหรือตัดต่อวิดีโอเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการก่อนที่จะอิมพอร์ตเข้ามาใน Flash MX 2004 ได้ ซึ่งถ้าเตรียมไฟล์วิดีโอไว้เรียบร้อยแล้ว ก็ให้เริ่มต้นทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ภายในโปรแกรม Flash MX 2004 ให้สร้างไฟล์เอกสาร Flash ขึ้นมาใหม่ ต่อจากนั้นให้ไปที่เมนู File > Import > Import to Library จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Import to Library ขึ้นมา ให้เลือกไฟล์วิดีโอที่ต้องการ แล้วคลิ้กปุ่ม Open


รูปที่ 1 ส่วนต่างๆ ของส่วนตัดต่อวิดีโอ

2. ภายหลังจากกดปุ่ม Open แล้วจะปรากฏหน้าต่าง Video Import Wizard ขึ้นมา จะมีตัวเลือกให้สองตัว ดังนี้

* Import the entire video เพื่อสั่งให้อิมพอร์ตไฟล์วิดีโอทั้งไฟล์เข้ามาใน Flash ทันที

* Edit the video first เพื่อเข้าสู่ส่วนตัดต่อวิดีโอก่อนจะอิมพอร์ตเข้ามาใน Flash

ให้เลือก Edit the video first แล้วคลิ้กที่ปุ่ม Next ก็จะเข้าสู่ส่วนตัดต่อวิดีโอ ดังรูปที่ 1 ซึ่งภายในส่วนตัดต่อวิดีโอนั้น จะมีการแบ่งพื้นที่ภายในหน้าต่างออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่ 1 เป็นส่วนที่เก็บรายชื่อคลิปวิดีโอที่เราได้ตัดจากไฟล์วิดีโอ ส่วนที่ 2 จะเป็นส่วนคอลโทรลคลิปวิดีโอ เพื่อใช้ในการตัดคลิปวิดีโอมาเก็บไว้ และส่วนที่ 3 จะเป็นส่วนพรีวิวคลิปวิดีโอ

3. ขั้นตอนแรกของการตัดวิดีโอมาเป็นคลิปวิดีโอเพื่ออิมพอร์ตเข้ามาในไลบรารี่ของเรานั้น จะเริ่มจากการลากเครื่องหมาย In Point ซึ่งเป็นรูป

ที่อยู่ในส่วนคอลโทรลคลิปวิดีโอ ไปยังตำแหน่งเริ่มต้นที่จะตัด ต่อจากนั้นก็ลากเครื่องหมาย Out Point ซึ่งเป็นรูป


รูปที่ 2 กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดที่ต้องการ

ไปยังตำแหน่งสิ้นสุดของการตัด ดังรูปที่ 2 และเพื่อให้แน่ใจได้ว่า ช่วงวิดีโอที่เรากำหนดไว้ว่าจะตัดมาเก็บเป็นคลิปวิดีโอนั้น คือช่วงที่เราต้องการจริงๆ ก็ให้คลิ้กที่ปุ่ม Preview clip เพื่อดูตัวอย่างวิดีโอในช่วงที่เรากำหนดไว้ก่อนได้

4. เมื่อแน่ใจแล้วว่ากำหนดช่วงวิดีโอถูกต้องแล้วก็ให้คลิ้กที่ปุ่ม Create clip เพื่อตัดช่วงวิดีโอที่เรากำหนดมาเก็บเป็นคลิปวิดีโอทันที โดยจะปรากฏชื่อคลิปวิดีโอในช่องรายชื่อคลิปวิดีโอทางซ้ายมือด้วย

5. หากยังต้องการตัดวิดีโอในช่วงอื่นๆ มาเก็บไว้เป็นคลิปวิดีโออีก ให้ทำซ้ำขั้นตอนที่ 3-4 ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้คลิปวิดีโอตามที่เราต้องการ

6. ในการแก้ไขจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของคลิปวิดีโอที่ตัดมาเก็บแล้วนั้น สามารถทำได้โดยคลิ้กที่ชื่อของคลิปที่ต้องการแก้ไขภายในช่องรายชื่อ แล้ว In Point กับ Out Point ก็จะเลื่อนตำแหน่งมายังจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของคลิปนั้น จากนั้นให้กำหนดจุด In Point กับ Out Point ใหม่ เสร็จแล้วก็ให้คลิ้กที่ปุ่ม Update Clip เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลง

7. สำหรับการลบคลิปวิดีโอที่ตัดมาแล้ว ก็ให้คลิ้กที่ชื่อของคลิปวิดีโอที่ต้องการลบในช่องรายชื่อ แล้วคลิ้กที่ปุ่ม Delete (ปุ่มรูปถังขยะที่อยู่ด้านบนของช่องรายชื่อ) คลิปวิดีโอนั้นก็จะถูกลบออกจากช่องรายชื่อทันที

8. คลิปวิดีโอทั้งหมดที่อยู่ในช่องรายชื่อนั้นก็คือซิมโบลแต่ละตัวที่จะถูกอิมพอร์ตเพิ่มเข้ามาในไลบรารี่นั่นเอง แต่ถ้าเราใส่เครื่องหมายถูกที่ตัวเลือก Combine list of clips into a single library item after import ก็จะทำให้คลิปวิดีโอทั้งหมดนั้นถูกอิมพอร์ตรวมกันเป็นซิมโบลเพียงตัวเดียวในไลบรารี่ ซึ่งจะมีประโยชน์มากในการตัดต่อวิดีโอเฉพาะช่วงอย่างเช่น ทำพรีวิวหนัง หรือพรีวิวมิวสิกวิดีโอ เป็นต้น

9. เมื่อการตัดต่อคลิปวิดีโอของเราเรียบร้อยแล้ว ก็ให้คลิ้กที่ปุ่ม Next เพื่อเข้าไปยังส่วนกำหนดค่าการเข้ารหัส (Encoding) ซึ่งภายในส่วนนี้จะประกอบไปด้วยลิสต์บ็อกซ์อยู่ 2 ตัว นั่นก็คือ Compression Profile และ Advanced Settings ดังรูปที่ 3


รูปที่ 3 โพรไฟล์ที่มีมาให้อยู่แล้วในโปรแกรม


รูปที่ 4 ในส่วนของ Compression Settings

ในลิสต์บ็อกซ์ Compression Profile จะมีการกำหนดรูปแบบการบีบอัดที่เหมาะสมกับอินเทอร์เน็ตความเร็วต่างๆ มาให้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเราสามารถเลือกได้ตามต้องการ หรือว่าถ้าหากรูปแบบที่มีอยู่ไม่ถูกใจ เราสามารถสร้างรูปแบบการบีบอัดของเราเองได้ โดยเลือก Create new profile ก็จะปรากฏส่วนของ Compression Settings ดังรูปที่ 4 ซึ่งออปชันแต่ละตัวจะมีความหมายดังนี้

* Bandwidth สำหรับกำหนดการบีบอัดตามความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่กำหนด สามารถกำหนดได้สูงสุดที่ 750 kbps

* Quality สำหรับกำหนดการบีบอัดตามคุณภาพที่กำหนด สามารถกำหนดได้สูงสุด 100%

* Keyframes สำหรับกำหนดจำนวนคีย์เฟรมที่จะถูกสร้างขึ้นมาสำหรับวิดีโอ ถ้ากำหนดเป็น 0 หมายความว่าจะไม่มีคีย์เฟรมอื่นๆ นอกเหนือจากคีย์เฟรมแรกของวิดีโอถูกสร้างขึ้นมาเลย

* High quality keyframes สำหรับกำหนดให้สร้างคีย์เฟรมคุณภาพสูง

* Quick compress สำหรับกำหนดให้บีบอัดอย่างเร็ว ซึ่งจะทำให้คุณภาพของภาพในช่วงที่มีการเปลื่ยนแปลง หรือเคลื่อนไหวมากนั้นลดลง

* Synchonize to Macromedia Flash Document frame rate สำหรับกำหนดให้เฟรมเรตของวิดีโอกับเฟรมเรตของ Flash ที่เรากำหนดไว้สอดคล้องกัน ซึ่งโดยปกติเราจะกำหนดไว้ที่ 1:1


รูปที่ 5 ในส่วนของ Advanced Settings

เมื่อเรากำหนดค่าต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้คลิ้กที่ปุ่ม Next จะปรากฏกล่องข้อความขึ้นมาเพื่อให้เรากรอกชื่อโพรไฟล์ที่ต้องการบันทึก เมื่อกรอกเสร็จแล้วก็คลิ้กที่ปุ่ม Next ก็จะกลับเข้าสู่ส่วนกำหนดค่าการเข้ารหัสอีกครั้ง

10.สำหรับในลิสต์บ็อกซ์ Advanced Settings มีไว้สำหรับกำหนดค่าต่างๆ ของวิดีโอ ซึ่งเราจะต้องเลือก Create new profile เพื่อสร้างรูปแบบของเราเอง เมื่อเลือกแล้ว ก็จะปรากฏส่วนของ Advanced Settings ดังรูปที่ 5 ซึ่งออปชันแต่ละตัวก็จะมีความหมายดังนี้

* Hue สำหรับปรับสีของวิดีโอ

* Brightness สำหรับปรับความสว่างของวิดีโอ

* Saturation สำหรับปรับความอิ่มตัวของสีในวิดีโอ

* Contrast สำหรับปรับคอนทราสของภาพในวิดีโอ

* Gamma สำหรับปรับความเจิดจ้าของแสงสว่างในวิดีโอ

* Scale สำหรับปรับขนาดของวิดีโอ มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยเมื่อปรับแล้วจะมีขนาดของวิดีโอที่ได้ปรากฏขึ้นที่ช่อง Width และ Height ซึ่งมีหน่วยเป็นพิกเซล

* Crop สำหรับปรับขอบเขตของวิดีโอให้เข้ามาด้านในตามที่ต้องการ

* Import สำหรับกำหนดตำแหน่งปลายทางที่จะอิมพอร์ตวิดีโอเข้าไป ไม่ว่าจะเก็บไว้ในไทมไลน์ปัจจุบัน (Current Timeline), เก็บไว้ในมูฟวี่คลิป (Movie clip) หรือเก็บไว้ในซิมโบลกราฟิก (Graphic symbol)

* Audio track สำหรับกำหนดรูปแบบการอิมพอร์ตเสียง ว่าจะให้อิมพอร์ตแบบแยกเสียงแยกภาพ (Separate), รวมภาพและเสียงเข้าด้วยกัน (Integrated) หรือไม่อิมพอร์ตเสียงเข้ามา (None)

เมื่อเรากำหนดค่าต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้คลิ้กที่ปุ่ม Next จะปรากฏกล่องข้อความขึ้นมาเพื่อให้เรากรอกชื่อโพรไฟล์ที่ต้องการบันทึก เช่นเดียวกับขั้นตอนที่แล้ว และเมื่อกรอกเสร็จแล้วก็คลิ้กปุ่ม Next ก็จะกลับเข้าสู่ส่วนกำหนดค่าการเข้ารหัสอีกครั้ง


รูปที่ 6 ระหว่างการอิมพอร์ต

11.หลังจากที่กำหนดค่าต่างเรียบร้อยแล้ว ก็ให้คลิ้กที่ปุ่ม Finish แล้วรอจนกว่าโปรแกรมจะอิมพอร์ตไฟล์วิดีโอนั้นเสร็จเรียบร้อย ดังรูปที่ 6 ก็จะปรากฏซิมโบลวิดีโอขึ้นมาในพาเนลไลบรารี่

ข้อมูลจาก : http://www.arip.co.th
โดย เชฏฐพงษ์ วิสูจน์สวัสดิ์

คุณอาจสนใจ
เทคนิคการสร้าง Flash แสดงวันที่
Charoen (71,301 - 27 พ.ย. 50)
การใช้งาน Vertical Type Tool
Mr.GuruZ (40,267 - 27 มิ.ย. 49)
การอ่าน Rss ด้วย PHP
Zerohate (39,137 - 28 ม.ค. 51)
การใส่รูปภาพลงบนเว็บเพจ HTML
สายลม (82,531 - 04 มิ.ย. 49)
เทคนิคการลบพื้นหลัง
Mr.GuruZ (153,169 - 04 มิ.ย. 49)
วางแผนรับมือจากการโดนโจมตีเครื่องในเน็ตเวิร์ก
เว็บไทยดีดี (14,977 - 29 ก.ย. 50)
เทคนิคการทำให้ Textbox รับค่าได้เฉพาะตัวเลข
Mr.GuruZ (63,095 - 03 มิ.ย. 49)
โหลด Windows แบบเร่งด่วน
เว็บไทยดีดี (16,232 - 26 ม.ค. 51)