การสร้าง Logo Animation จัดทำโดย : เว็บไทยดีดี พิมพ์


การสร้าง Logo Animation

- เราจะนำ Logo ที่เราสร้างขึ้นในตอนแรกมาทำเป็น Logo ที่เคลื่อนไหวได้ โดยจะทำให้ส่วนที่เป็นลูกทรงกลมหมุนได้ เพื่อที่จะเอา Logo ไปใช้ในงาน Presentation
- Load file ที่เราทำ Logo ในตอนที่ 1 ขึ้นมาก่อน
- สังเกตที่ด้านล่างของโปรแกรม จะมีส่วนควบคุมการสร้าง Animation ซึ่งจะมีส่วนประกอบดังนี้



- ให้คลิกเลือกมุมมอง Top โดยเราจะทำการหมุนทรงกลมในแนวแกน Z
- เราจะทำการหมุนทรงกลมให้ได้ 1 รอบพอดี แต่เนื่องจากเราไม่สามารถ ที่จะจดจำจุดใดจุดหนึ่ง บนทรงกลมได้อย่างแน่นอน จึงต้องสร้าง Dummy ขึ้นมาไว้ด้านข้างตรงส่วนที่เราจะกำหนดให้เป็น 1 รอบพอดี โดยเลือก Panel จากนั้นคลิกที่  แล้วเลือก  จากนั้นวาด Dummy ไว้ด้านข้างซ้ายของทรงกลม เดี๋ยวเราจะทำการหมุนทรงกลมให้ครบ 1 รอบ โดยที่ Dummy จะต้องหมุนตามไปด้วยแล้วกลับมาอยู่ที่ตำแหน่งเดิม



- เราต้องทำการเชื่อมความสัมพันธ์ของ Dummy กับ ทรงกลมก่อน เพื่อที่ Object ทั้ง 2 จะได้ เคลื่อนที่ไปพร้อมๆ กัน ให้เราคลิกเลือก Dummy แล้วคลิกเลือกคำสั่ง Link ด้านบนของโปรแกรม ปุ่ม Link จะกลายเป็นสีเขียว จากนั้น คลิกลากจาก Dummy ไปที่ทรงกลม จะสังเกตเห็นว่า เคอร์เซอร์จะเปลี่ยนเป็นรูปสี่เหลี่ยม 2 รูปเชื่อมกันอยู่ดังภาพ



- เมื่อทำการ Link แล้วให้ทดสอบโดยย้ายทรงกลมแล้วสังเกตว่า Dummy ย้ายตามไปหรือไม่ จากนั้นใช้คำสั่ง Menu edit/Undo เพื่อให้ทรงกลมกลับมาวางไว้ที่เดิม
- เราจะเริ่มทำการ Animate ทรงกลม โดยเริ่มจากคลิกที่ปุ่ม  จนปุ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง หมายความว่าตอนนี้เราเข้าสู่โหมดการสร้าง Animation
- กลับมาที่มุมมอง Top จะเป็นกรอบสีแดงล้อมรอบ จากนั้นเลื่อน Time slider ไปที่เฟรม 60 แล้วคลิกเลือกเครื่องมือ Rotate  แล้วคลิกที่ทรงกลมจากนั้นนำเคอร์เซอร์ไปวางไว้ที่จุด Pivot point ของทรงกลม (เครื่องหมาย แสดงแกน XYZ) ให้แกน Z เปลี่ยนเป็นสีเหลืองเพียงแกนเดียว แล้วคลิกลากขึ้นด้านบนให้ทรงกลมหมุนให้ได้ 1 รอบพอดี สังเกตที่ Dummy ที่หมุนไปด้วย โดยให้ Dummy หมุนแล้วกลับมาอยู่ที่ตำแหน่งเดิม เมื่อหมุนเสร็จให้คลิกที่ปุ่ม Animation อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ยกเลิกโหมดการสร้าง Animation
- คราวนี้ลองมาดูที่มุมมอง Perspective แล้วคลิก Play  ที่ สังเกตทรงกลมจะทำการหมุน 1 รอบ โดยมีจำนวนเฟรม 60 เฟรม
- เราสามารถเปลี่ยนจำนวนเฟรมเพื่อให้ทรงกลมหมุนเร็วขึ้นหรือช้าลงได้ โดยให้คลิกที่ทรงกลมแล้วสังเกต ที่ด้านล่าง Time slider จะมีรูปไข่เล็กๆ อยู่ที่เฟรมที่ 60 ให้เราคลิกลากซ้าย-ขวา เพื่อเปลี่ยนเฟรมสิ้นสุดการหมุน จากเฟรมที่ 60 เป็นเฟรมที่มากขึ้นหรือน้อยลงได้ จากนั้นลองกดปุ่ม Play ทดสอบ
- ขั้นตอนสุดท้ายคือ Save file เป็น .avi เพื่อนำไปใช้ในงาน Presentation ให้เราเข้าไปที่ Menu Rendering/ Render
- เมื่อเข้ามาสู่หน้าต่าง Render ให้ดูที่ ช่อง Time output เลือก Range แล้วเปลี่ยนค่าเฟรมที่ 100 เป็น 60 คือเฟรมสุดท้าย เราจะทำการ Render ตั้งแต่ เฟรมที่ 0 - 60



- ต่อไปเราจะตั้งชื่อ File ที่จะทำการ Save โดยดูที่ ช่อง Render Output คลิกที่ Files… จะมีหน้าต่าง Save file ขึ้นมา ให้เราตั้งชื่อ File สังเกตว่า Save as type จะเลือกเป็น .avi จากนั้นคลิก Save จะกลับมาที่หน้าต่างเดิม แล้วคลิกที่ Render โปรแกรม ก็จะทำการ Render งานจนเสร็จ เราก็จะได้ภาพเคลื่อนไหว มาใช้ในการ Presentation




ข้อมูลจาก http://www.nectec.or.th/

คุณอาจสนใจ
การ Lock หน้าเว็บด้วย Java
เอก (41,929 - 04 มิ.ย. 49)
Error Code คืออะไร
เว็บไทยดีดี (24,212 - 29 ก.ย. 50)
ทำความรู้จักกับ java
Mr.POP (41,175 - 05 พ.ย. 49)
การตั้งค่าฟอนต์ให้เป็นค่าเริ่มต้น
อ้อม (28,379 - 13 ม.ค. 50)
เคล็ดไม่ลับกับการวาดเส้นโค้งให้ดูสวยงาม
Mr.GuruZ (157,707 - 04 มิ.ย. 49)
การระบายสีภาำพโดยใช้เครื่องมือ Brush Tool
น้องฝ้าย (76,198 - 22 ก.ย. 50)
การสร้างไฟล์ word จาก database
Zerohate (43,018 - 21 พ.ย. 50)
Rectangular Marquee (M)
Mr.GuruZ (82,131 - 22 ก.ย. 50)